PopAds.net - The Best Popunder Adnetwork ปลาบึก: ตุลาคม 2011

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบึก(เกี่ยวกับบ่อปลา)

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพิษณุโลก....


          นำพ่อแม่พันธุ์ปลาบึกไปเลี้ยงในบ่อขนาดประมาณ 2700 ตารางเมตร จำนวน 2 บ่อ บ่อละ 15 ตัว ก่อนปล่อยพ่อแม่ปลา ทำการเตรียมบ่อโดยสูบน้ำออกให้หมด ตากบ่อแห้ง กำจัดสิ่งสกปรก โรยปูนขาวอัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่  สูบน้ำเข้าบ่อผ่านถุงกรองไนล่อนเบอร์ 18 ให้ได้น้ำลึก 1.4-1.5 เมตร การเลี้ยงพ่อแม่ปลาบึกในบ่อดินควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อให้แม่ปลาและพ่อปลาพัฒนาไข่และน้ำเชื้อจนสมบูรณ์ การเลี้ยงพ่อแม่ปลาบึกในบ่อดินใช้วิธีของคุณยงยุทธและคณะ(2544) ซึ่งรายงานว่าในเดือนธันวาคม  ถึงเดือนมีนาคม เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณร้อยละ 30 ของบ่อ สองสัปดาห์ต่อครั้ง ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เปลี่ยนถ่ายน้ำร้อยละ 50ของบ่อ สัปดาห์ละครั้ง


เนื้อหาข้อมูลจาก เอกสารเผยแพร่การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่ที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยกรมประมง

ประวัติการเพาะพันธุ์ โดยกรมประมง



          ปลาบึกซึ่งมีจำนวนไม่มาก และมีอยู่แห่งเดียวในแม่น้ำโขงเท่านั้นจึงถูกจับขึ้นมาจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงมานานแต่โบราณกาล คนไทยภาคอื่นจะรู้จักปลาบึกแต่เพียงในนามเท่านั้น
          กรมประมงมีภาระหน้าที่บำรุงพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้รับรายงานว่าปลาบึกในแม่น้ำโขงถูกจับมากและมีปริมาณลดลงทุกปี ผู้บริหารกรมประมงจึงมีนโยบายให้เริ่มศึกษาปลาบึกเพื่อหาลู่ทางในอนาคต การศึกษาปลาบึกของกรมประมงจึงเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2510 เป็นการเริ่มต้นศึกษาปลาบึกจากความว่างเปล่าโดยนักวิชาการ
          วันที่ 6 พฤษภาคม 2526 คุณเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาและคณะ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกด้วยวิธีปสมเทียมจากปลาบึกในแม่น้ำโขงเป็นครั้งแรกของโลก!...
          ลูกปลาบึกที่ถูกเลี้ยงไว้ในสถานประมงได้เจริญเติบโตเป็นลำดับและถูกนำมาทดสอบการเพาะพันธุ์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ประสบความสำเร็จ
          ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2544 ปลาบึกคู่หนึ่งในบ่อเลี้ยงที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา อยู่ในวัยเจริญพันธุ์เต็มที่อายุ 17 ปี ด้วยความสามารถของคุณยงยุทธ อุนากรสวัสดิ์ หัวหน้าสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาและคณะ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกด้วยวิธีผสมเทียมจากพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน พ่อแม่พันธุ์คู่นั้นให้ลูกปลาจำนวนสามแสนห้าหมื่นตัว โดยพ่อแม่ปลายังมีสุขภาพแข็งแรงและได้ปล่อยคืนสู่บ่อเลี้ยงเพื่อนำขึ้นมาเพาะพันธุ์อีกในปีหน้า
          การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากบ่อเลี้ยงเป็นความสำเร็จที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของโลกทำให้เราสามารถอนุรักษ์ปลาบึกได้อย่างยั่งยืนไม่มีวันสูญพันธุ์ไปจากโลก เพราะลูกปลาบึกที่เพาะพันธุ์ได้จะถูกเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป เพื่อนำขึ้นมาเพาะพันธุ์ให้ลูกในรุ่นต่อๆไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
          ความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกทั้งสองครั้ง เป็นผลงานที่ร่าภูมิใจในฝีมือคนไทยและเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และการดำรงความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ อีกทั้งความสำเร็จนี้ยังเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังในการปฏิบัติภารกิจให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม....



ที่มา : เอกสารเผยแพร่ กรมประมง เรื่องปลาบึก บันทึกเส้นทางอนุรักษ์ปลาบึก สู่ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน พ.ศ.2544


ขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000111552
                          http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=matoomy&id=34
                          http://www.moohin.com/animals/other-22.shtml             


เนื้อหาข้อมูลจาก เอกสารเผยแพร่การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่ที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยกรมประมง

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะโดยละเอียดของปลาบึก



1.ลำตัวยาว เบนข้างเล็กน้อย สันหลังตั้งแต่ครีบหลังลาดลงจนสุดปลายจงอยปาก จงอยปากใหญ่ปลายมนกลม หัวใหญ่ยาว

2.นัยน์ตาตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากและมีขนาดเล็กมาก ลูกตาเป็นอิสระไม่ติดกับของตา

3.ตอนบนหัวประมาณจุดกึ่งกลางมีจุดกลมสีขาว ขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของนัยน์ตา 1 จุด จากจุดนี้พาดไปทางด้านหลังจนไปสุดประมาณปลายช่องเปิดของกระพุ้งเหงือก

4.ปากอยู่ปลายสุดขนาดค่อนข้างใหญ่ ไม่มีฟัน มีหนวดเส้นเล็กๆ ที่ขากรรไกรบน 1 คู่ ซึ่งซ่อนอยู่ในร่องหลังมุมปาก ลักษณะของหนวดเป็นเส้นเล็กแบนมีสีแดงเรื่อ

5.บริเวณปลายจงอยปากมีรูจมูก 2 คู่ ตั้งอยู่ค่อนไปทางด้านข้างของหัว รูจมูกคู่หน้าอยู่ชิดกันมากกว่ารูจมูกคู่หลัง ช่องเปิดของเหงือกกว้างจนเลยขึ้นไปเหนือฐานครีบอก

6.จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นครีบท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 2 อัน ก้านครีบแข็งอันหลังไม่เป็นเงี่ยงแข็ง(Pungent spine) และไม่หยักเป็นฟันเลื่อย ก้านครีบอ่อนมี 7 ก้าน

7.ครีบอกอยู่ค่อนข้างต่ำ มีก้านครีบแข็งใหญ่ 1 อัน แต่ปลายโค้งงอได้ ไม่แข็งเป็นเงี่ยงหรือหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านครีบอ่อนมี 10 อัน ความยาวของครีบอกยาวเท่าหรือเกือยเท่าความยาวของครีบหลัง

8.ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง ซึ่งโค้งงอได้ 1 อัน ก้านครีบอ่อน 7 อัน

9.ครีบก้นยาวประกอบด้วยก้านครีบแข็งที่โค้งงอได้ 5 อัน ก้านครีบอ่อน 30 อัน ครีบไขมันมีขนาดเล็กและอยู่ค่อนไปทางครีบหาง

10.สีของลำตัวทางด้านหลังมีสีเทาปนน้ำตาลแดง ด้านข้างสีเทาปนน้ำเงิน ส่วนท้องสีขาว ปริเวณข้างลำตัวประมาณสุดปลายครีบอกมีจุดสีดำกลมขนาดเล็กกว่าลูกตา 1 จุด และจุดแบบเดียวกันนี้พบกระจายกันอยู่บนครีบก้นอีก 3 จุด คือ ครีบอก ครีบหลัง ครีบไขมัน และครีบหางมีสีเทาดำ ครีบท้องและครีบก้นมีสีเทาจาง


ขอบคุณภาพจาก http://www.prontera.in.th/forums/index.php?showtopic=10596


เนื้อหาข้อมูลจาก เอกสารเผยแพร่การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่ที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยกรมประมง

อนุกรมวิธานของปลาบึก


          จากบันทึกของ Smith(1945) พบว่า ค.ศ.1904 Vaillant ได้จัดเข้าไว้ในสกุลเดียวกับปลาสวาย   คือ Pangasius และก็เป็นที่เชื่อกันเช่นนั้นเรื่อยมาจนกระทั่ง ค.ศ.1930   Dr.Pierre Chevey ได้ทำการศึกษาและสังเกตถึงข้อแตกต่างของปลาบึกกับปลาในสกุล Pangasius เขาได้ชี้แจงให้เห็นข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้

ปลาบึกเป็นปลาที่ไม่มีฟันทั้งบนขากรรไกรและที่เพดานปาก มีหนวดสั้นที่ขากนนไกรบน 1 คู่ และตำแหน่งของนัยน์ตาปลาบึกตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับของมุมปาก เปรียบเทียบกับปลาในสกุล Pangasius ซึ่งมีฟันทั้งบนขากรรไกรและที่เพดานปาก มีหนวด 2 คู่ คือที่ขากรรไกรบนและล่างที่ละ 1 คู่ ส่วนตำแหน่งของนัยน์ตาก็อยู่เหนือหรืออยู่ในระดับเดียวกันกับ มุมปาก” 

          ปลาบึกจึงจัดได้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Pangasianodon gigas ซึ่งจัดอยู่ในพวก Pangasianodon และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปตราบจนทุกวันนี้



อนุกรมวิธานของปลาบึกถูกจัดไว้ดังนี้

Phylum : Chordata
  Class : Pisces
     Subclass : Teleostomi
        Order : Nematognathi
            Family : Schilbeidae
               Genus : Pangasianodon
                   Species : gigas
                        ปลาบึก Pangasianodon gigas (Chevey 1930)


ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=2688


เนื้อหาข้อมูลจาก เอกสารเผยแพร่การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่ที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยกรมประมง

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อมูลเบื้องต้นของปลาบึก

    
        ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ปลาบึกไม่มีฟันและมีหนวดที่สั้นมาก โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไปและตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปาก เมื่อมองจากด้านหน้าตรงๆ จะไม่เห็น นั่นแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาบึกวัยอ่อน ปลาบึกพบอาศัยอยู่มากที่แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขาเท่านั้น


          อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร่น้ำ สาหร่าย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกัรม ใน 5 ปี ปลาบึกที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้ยาว 2.7 เมตร และหนัก293 กิโลกรัม เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ


          ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูง ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=517781


เนื้อหาข้อมูลจาก เอกสารเผยแพร่การเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่ที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยกรมประมง